สนามกฎแห่งกรรมกับสนามความถี่ทางควอนตัม by admin · Published พฤศจิกายน 17, 2021 · Updated พฤศจิกายน 17, 2021 ดร.รูเพิร์ต เชลเดรก (Dr.Rupert Sheldrake) แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์“สนามสัณฐาน (Morphic fields) มีรูปแบบที่เกิดจากการสั่นพ้องทางสัณฐาน (Morphic resonance) จากระบบในอดีตที่คล้ายกันทั้งหมด และมีหน่วยความจำที่สะสมมาจากอดีตอย่างต่อเนื่อง คลื่นสั่นพ้องทางสัณฐานขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันและไม่ลดทอนด้วยกาลและอวกาศ เขตข้อมูลของสนามสัณฐานเป็นแบบ Local อยู่ภายในและรอบ ๆ ระบบที่มันจัดระเบียบ (สนามสัณฐานอยู่ในโลกทางกายภาพ) แต่การสั่นพ้องทางสัณฐานเป็นแบบ Non-Locality (การสั่นพ้องทางสัณฐานอยู่ในโลกของควอนตัม)”พุทธพจน์กรรมจึงชื่อว่าเป็นผืนนา วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นน้ำเลี้ยง วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้ เพราะธาตุอย่างหยาบของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้บางส่วนจากหนังสือ “จักรวาลควอนตัม”พระพุทธองค์ทรงเปรียบเปรยสนามกฎแห่งกรรมว่าเป็นดั่งผืนนา ที่วิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบันเรียกว่า สนามสัณฐาน (Morphic fields) และทรงเปรียบเปรยวิญญาณว่าเป็นดั่งพืช ที่มีตัณหาเป็นดั่งน้ำเลี้ยง ให้วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้ ธาตุอย่างหยาบของมนุษย์อันประกอบไปด้วยอินทรีย์สารต่าง ๆ ทำให้มนุษย์มีปัญญามืดบอด มีอวิชชาหรือความไม่รู้เป็นเครื่องปิดกั้น ยึดมั่นในตัณหา จึงนำไปสู่ความต่อเนื่องของดวงจิตที่เกิดดับเป็นสาย นำไปสู่การเกิดในภพใหม่ ทนทุกข์และเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป“พืชหยั่งรากเติบโตบนผืนนาได้ฉันใด ความถี่ของดวงจิตก็หยั่งรากเติบโตในสนามสัณฐานได้ฉันนั้น”