นิวทริโนกับโฟตอน by Thammarong · Published พฤศจิกายน 7, 2021 · Updated พฤศจิกายน 7, 2021 นิวทริโน คืออนุภาคมูลฐานที่มีมวลน้อยมาก จัดอยู่ในกลุ่มเลปตอนเช่นเดียวกับอิเล็กตรอน เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบเท่าแสง มีประจุไฟฟ้าเป็นกลาง ทำให้มันไม่มีปฏิสัมพันธ์นิวเคลียร์ชนิดเข้มและแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แต่จะมีปฏิสัมพันธ์นิวเคลียร์ชนิดอ่อนและมีปฏิสัมพันธ์กับแรงโน้มถ่วง คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้นิวทริโนสามารถทะลุผ่านสสารหนา ๆ ได้ดี โดยไม่ไปกระทบและเกิดปฏิสัมพันธ์กับอะตอมหรือโมเลกุลของสสารที่ทะลุผ่านไปนิวทริโนสามารถวิ่งทะลุผ่านโครงสร้างอะตอมได้โดยไม่ถูกขัดขวางจากประจุบวกของโปรตอนและประจุลบของอิเล็กตรอนที่วิ่งวนอยู่รอบ ๆ โปรตอน ต่างกับอนุภาคโฟตอนของแสง ที่ไม่สามารถวิ่งทะลุผ่านอิเล็กตรอนที่ผิวของอะตอมหรือที่ผิวของวัตถุได้ โฟตอนจึงสะท้อนออกมาเข้าสู่ดวงตาเรา เกิดการรับรู้เป็นภาพขึ้นมา (วิญญาณขันธ์)แม้ว่าโฟตอนจะมีประจุเป็นกลางและมีมวลขนาดเล็กเหมือน ๆ กับนิวทริโน แต่โฟตอนเป็นอนุภาคต่างชนิดกับนิวทริโน โฟตอนเป็นอนุภาคที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังงาน เป็นอนุภาคที่อยู่ในกลุ่มพาหะของพลังงาน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า โฟตอนที่ถูกปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ (ในอีกแง่มุมหนึ่งคือคลื่นแสง) คือสาเหตุหนึ่งของความรับรู้ใน “รูป” อันเป็นเหตุของความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนของสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นบางส่วนจากหนังสือ “ไตรลักษณ์ในควอนตัม” Share